ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก
ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก
Macaranga denticulata (Blume) Muell. Arg.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Macaranga denticulata (Blume) Muell. Arg.
 
  ชื่อไทย ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก
 
  ชื่อท้องถิ่น ตุ๊ดรึถาก(ขมุ), ไฮ่อึ่งบ่าย(ปะหล่อง), ลำด้าก(ลั้วะ), ปะด่ะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองม่อม(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนานุ่ม
 
  ใบ ใบมีหูใบรูปใบหอก มีขนนุ่มหนาแน่น ร่วงง่าย ก้านใบยาว 5-20 ซม. แผ่นใบรูปคล้ายสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ยาว 12-30 ซม. กว้าง 11-28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนาจนถึงหนา ผิวใบมีขนและมีต่อม ปลายใบแหลม ขอบใบค่อนข้างเรียบ ฐานใบมน
 
  ดอก ดอก เป็นดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศเมียมีขนหนานุ่ม ใบประดับรูปขอบขนานหรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบ ดอกย่อยเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย มี 2 พู
 
  ผล ผลมีก้าน เป็นผลแบบแคปซูลมี 2 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม. มีขนต่อมหนาแน่น
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ) - ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ,ลั้วะ,ไทใหญ่) ใบ ใช้ห่อข้าว(ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ใบ ใช้ห่อถั่วเน่า(ไทใหญ่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง